ฐานการเรียนรู้ที่ 1 คลังอาหารข้างบ้าน
|
 |
ฐานการเรียนรู้คลังอาหารข้างบ้าน
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นแนวคิดแบบแยกส่วนเพราะให้ความสนใจเฉพาะแต่ผลผลิตของพืชหลักที่ปลูกโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของที่ทำกิน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนจระเข้วิทยายน เริ่มต้นจากการเรียนรู้วิธีการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามรอยศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเกษตรอินทรีย์เชิงวิทยาศาสตร์ เรียนรู้กระบวนการทำจุลินทรีย์ชีวภาพจากวัชพืชและเศษอาหารในครัวเรือน เรียนรู้กระบวนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PSB) และการนำไปใช้ประโยชน์ เรียนรู้วิธีปรับปรุงคุณภาพของดินเรียนรู้การทำสารชีวภาพไล่แมลงและศัตรูพืช เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพการเลี้ยงปลาในระบบนิเวศจำลอง เป็นต้น
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้คลังอาหารข้างบ้าน
เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความเข้าใจในแนวคิดในการทำการเกษตรที่อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม มีความรู้ในด้านการประยุกต์ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตร อาทิเช่น การหมุนเวียนธาตุอาหารการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษในการทำเกษตร เป็นต้น
วัตถุ มีคลังอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน สามารถก่อให้เกิดรายได้ทั้งในส่วนของการทำเป็นงานอดิเรกและทำเป็นอาชีพหลักได้
สังคม มีความอดทน ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักช่วยเหลือ เสียสละและแบ่งปัน
สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษในการทำเกษตร สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำอย่างยั่งยืน
วัฒนธรรม ดำรงมรดกของท้องถิ่นและของชาติ ด้านงานอาชีพและวัฒนธรรม |
ฐานการเรียนรู้ที่ 2 โครงงานหรรษาสู่อาชีพ
|
 |
ฐานการเรียนรู้โครงงานหรรษาสู่อาชีพ
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ทักษะในการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบต่องาน ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน ใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และสร้างรายได้ระหว่างเรียน ในฐานการเรียนรู้โครงงานอาชีพ นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องการประกอบอาชีพ เช่น การจักสานกระติบข้าว การผลิตสินค้าจากผลิตภัณฑ์จากปลาในท้องถิ่น การทำถุงผ้าลดโลกร้อน การทำขนมอบ การทำอาหาร และการเรียนรู้ทวิศึกษา นักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนจนเกิดทักษะในงานอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพสุจริต
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้โครงงานหรรษาสู่อาชีพ
นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพเสริมได้ในระหว่างเรียนและสามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ในอนาคต
วัตถุ เป็นงานอดิเรก ก่อให้เกิดรายได้ ประกอบอาชีพในอนาคต
สังคม เกิดความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความอดทน รู้จักเสียสละและแบ่งปัน มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อมโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทน
ถุงพลาสติก ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างประหยัดและเกิดความคุ้มค่า
วัฒนธรรม สืบสาน รักษา มรดกวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น |
ฐานการเรียนรู้ที่ 3 คีตะมวยไทย
|
 |
3. ฐานการเรียนรู้ คีตะมวยไทย
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์กับศิลปะมวยไทย เป็นการนำลักษณะการออกอาวุธมวยไทย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ทักษะการออกกำลังกายแบบแม่ไม้มวยไทย การนำท่าทางต่าง ๆ ของ “ศิลปะมวยไทย” มีการนำดนตรีนาฏศิลป์เข้ามาร่วมด้วย หมัด เท้า เข่า และศอก มาเต้นเป็นประกอบจังหวะ นักเรียนได้พัฒนาทักษะ ความรู้ด้านมวยไทย ซึ่งเป็นมรดกชาติ และการแสดงออกทางนาฏศิลป์
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้คีตะมวยไทย
นักเรียนมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา สร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้กับสุขภาพตนเองใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และได้อนุรักษ์มวยไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียน ใช้ศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะการหาความรู้ด้วยตนเอง ศึกษาเอกสารความรู้และฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ
วัตถุ เลือกใช้อุปกรณ์ในการฝึกถูกต้อง เหมาะสม ถูกวิธีประหยัดและคุ้มค่า
สังคม เกิดความสามัคคี ช่วยเหลือเสียสละและแบ่งปัน มีสัมมาคารวะดำรงตนอยู่ในสังคมอย่าง
มีความสุข
สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการฝึกเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมกันรักษา
ความสะอาดในบริเวณที่ปฏิบัติการฝึก ดูแลรักษาอุปกรณ์ให้สะอาดและปลอดภัย
วัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นให้เกิดความยั่งยืน |
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานสะอาด
|
 |
ฐานการเรียนรู้พลังงานสะอาด
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนได้ออกแบบและติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยใช้ระบบออนกริด (On Grid) ขนาด 5 KW (5000 W) โดยมีแผนการติดตั้งปีงบประมาณละ 5 KW เชื่อมโยงกับโครงการของโรงเรียนคือโครงการโรงเรียนกินแดด สนองนโยบายของรัฐบาล นักเรียนได้เรียนรู้องค์ประกอบของโซล่าเซลล์ เรียนรู้หลักการทำงานของระบบโซล่าเซลล์ เรียนรู้การต่อวงจรเบื้องต้น การคำนวณวัตต์ การเลือกขนาดโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับพลังงานที่ใช้ ส่งเสริมประชาชนอยู่อย่างพอเพียงและพึ่งพาตนเองได้
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้พลังงานสะอาด
การเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราต้องการ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
วัตถุ นักเรียนได้ความรู้ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ การต่อวงจรและการติดตั้งโซล่าเซลล์
ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งด้านครัวเรือน การใช้พลังงานทดแทน ก่อให้เกิดรายได้ทั้งที่เป็นงานอดิเรกหรืออาชีพได้
สังคม นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ร่วมกับเพื่อน มีความสามัคคี
ช่วยเหลือเสียสละ แบ่งปันการมีน้ำใจ พึ่งพาตนเองได้
สิ่งแวดล้อม นักเรียนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และพัฒนาให้
ยั่งยืน เพราะโซล่าเซลล์เป็นพลังงานที่สะอาด
วัฒนธรรม สำนึกรู้คุณค่าพลังงานสะอาด |
ฐานการเรียนรู้ที่ 5 สวนพฤกษศษสตร์
|
 |
ฐานการเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยมี การรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงานและข้อมูล รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
นักเรียนได้ทักษะ ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ การจัดการ และเกิดคุณธรรม ในเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความอดทน สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
วัตถุ ได้พันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดอาชีพ การดูแล รักษา การขยายพันธุ์ไม้ชนิด
ต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงก่อให้เกิดรายได้ หรือเป็นอาชีพได้
สังคม โรงเรียนจระเข้วิทยายนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน ด้านงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็น
แหล่งรวบรวมเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้แก่บุคคลชุมชน สามารถ
แลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากปราชญ์ชาวบ้าน รวบรวมพรรณไม้ที่สำคัญ พรรณไม้
มงคลที่อยู่ในท้องถิ่น
สิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่มีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสมกับ
สภาพถิ่นอาศัยเดิม มีสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาโดยวิธีอื่นๆ พันธุ์พืชที่ทำการเก็บรวบรวมไว้นี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้
วัฒนธรรม นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และความรับผิดชอบในการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืช และได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
ฐานการเรียนรู้ที่ 6 วัยใสใส่ใจคุณธรรม
|
 |
ฐานการเรียนรู้วัยใสใส่ใจคุณธรรม
เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากสภาพสังคมในปัจจุบันเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆมากมาย ซึ่งส่งผลให้สังคมเสื่อมโทรม การแก้ปัญหาทางหนึ่ง ก็คือ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กหรือเยาวชน ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่กำลังสดใส ตื่นตัวเต็มไปด้วยพลังทางกาย พลังทางความคิด และพลังสติปัญญา ถ้าเยาวชนเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธีอย่างมีระบบแบบแผน เยาวชนก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ เพื่อให้เยาวชนเข้าใจบทบาท ของตนเอง มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้เยาวชนรู้จักนำหลักธรรมไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยฐานการเรียนรู้มีกิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมดนตรีพื้นบ้าน(โปงลางอีสาน) กิจกรรมศิลปะอีสาน(ธุงใยแมงมุม) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม (สวดมนต์ไหว้พระประจำสัปดาห์ วิถีพุทธ และโครงการเก็บได้ให้คืน)
ประโยชน์จากฐานการเรียนรู้
เพื่อปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ให้กับนักเรียน ปลูกฝังให้นักเรียนสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักผิดชอบ ชั่วดี และสิ่งที่ควรหรือไม่ควรประพฤติ รวมถึงการนำเอาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมฐานทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้คู่คุณธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
วัตถุ เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ รักษาทรัพย์สมบัติของส่วนรวม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิด
ประโยชน์คุ้มค่า
สังคม เกิดคุณธรรมอันพึงประสงค์ เช่น มีความรับผิดชอบ มีน้ำใจ มีความสามัคคีช่วยเหลือ
แบ่งบันผู้อื่นอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
สิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ มีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อ
สังคม ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม มีแบบแผนการดำรงชีวิตที่ดี ดำรงรักษามรดกของชาติ ทำความดีสม่ำเสมอ |